วันอังคารที่ 16 เมษายน พ.ศ. 2556

CO2 และ CH4

 

"ซีโอทู (CO2) คู่ซี้ ซีเอชโฟร์ (CH4)
ลอยขึ้นโผล่ โตใหญ่ ในฟากฟ้า
เรือนกระจก ปกคลุม สุมโลกหล้า
เป็นปัญหา พาร้อน สะท้อนซ้ำ"

      สภาวะโลกร้อนจากการปล่อยแก๊สหรือก๊าซเรือนกระจก หากจะเรียงตามลำดับผลของก๊าซเรือนกระจกนั้นคือ CO2, CH4, N2O, CFC, และ O3  ซึ่งทำให้เกิดน้ำแข็งขั้วโลกละลาย ระดับน้ำในทะเลสูงขึ้น คลื่นยักษ์จากทะเลยกตัวสูงมากขึ้น รวมทั้งมีฝนตกหนัก อากาศแปรปรวน เช่นทำให้เกิดมหาอุทกภัยกับประเทศไทยในช่วงเดือนตุลาคมถึงธันวาคม พ.ศ. 2554 เป็นต้น




แก๊สเรือนกระจก

     แก๊สเรือนกระจกมีสาเหตุเกิดขึ้นมาคือ

1.  ไอระเหยของน้ำ (ไม่รวมก้อนเมฆ) ซึ่งเป็นต้นเหตุทำให้เกิดปรากฏการณ์โลกร้อนมากถึงประมาณ 30-60 %
2.  คาร์บอนไดออกไซด์ (CO2) เป็นตัวการทำให้เกิดปรากฏการณ์โลกร้อน ประมาณ 9–26 % ซึ่งในปัจจุบันมีความเข้มในบรรยากาศของ CO2 ประมาณ 31 %)
3.  แก๊สมีเทน (CH4) เป็นตัวการทำให้เกิดปรากฏการณ์โลกร้อน ประมาณ 4–9 % (ซึ่งในปัจจุบันความเข้มในบรรยากาศของ CH4 เพิ่มขึ้น 149 %)
4.  โอโซน (O3) เป็นตัวการทำให้เกิดปรากฏการณ์โลกร้อนประมาณ 3–7 % 
          หมายเหตุ  หากเปรียบเทียบระหว่างโมเลกุลต่อโมเลกุลแล้ว แก๊สมีเทนมีผลต่อปรากฏการณ์เรือนกระจกมากกว่าคาร์บอนไดออกไซด์ แต่ความเข้มข้นน้อยกว่ามาก ดังนั้นแรงการแผ่ความร้อนจึงมีสัดส่วนประมาณ 1 ใน 4 ของคาร์บอนไดออกไซด์
          อนึ่ง ยังมีแก๊สอื่นอีก เช่นไนตรัสออกไซด์ (N2O) ซึ่งเริ่มมีปริมาณเพิ่มขึ้นเพราะเกิดจากแก๊ส NOX ที่ถูกปล่อยจากท่อไอเสียของรถยนต์ที่ไม่มีเครื่องฟอกไอเสียเชิงเร่งปฏิกิริยาหรือ Catalytic Converter (CAT) และการอุดการหมุนเวียนไอเสียหรือ Exhaust Gas Recirculation (EGR) 
          ระดับอุณหภูมิเหล่านี้สูงกว่าอุณหภูมิของโลกที่ขึ้นๆ ลงๆ ในช่วง 650,000 ปีที่ผ่านมา ซึ่งเป็นช่วงที่มีข้อมูลที่เชื่อถือได้ที่ได้มาจากแกนน้ำแข็งที่เจาะมาได้ และจากหลักฐานทางธรณีวิทยาด้านอื่นก็ทำให้เชื่อว่าค่าของ CO2 ที่สูงในระดับใกล้เคียงกันดังกล่าวเป็นมาประมาณ 20 ล้านปีแล้ว การเผาผลาญเชื้อเพลิงฟอสซิล (Fossil fuel) มีส่วนเพิ่ม CO2 ในบรรยากาศประมาณ 3 ใน 4 ของปริมาณ CO2 ทั้งหมดจากกิจกรรมมนุษย์ในรอบ 20 ปีที่ผ่านมา ส่วนที่เหลือเกิดจากการเปลี่ยนแปลงการใช้ที่ดิน โดยเฉพาะการทำลายป่าเป็นส่วนใหญ่
          ความเข้มของปริมาณ CO2 ที่เจือปนในบรรยากาศปัจจุบันมีประมาณ 383 ส่วนในล้านส่วนโดยปริมาตร (ppm) ประมาณว่าปริมาณ CO2 ในอนาคตจะสูงขึ้นอีกจากการเผาผลาญเชื้อเพลิงฟอสซิล และการเปลี่ยนแปลงการใช้ที่ดิน อัตราการเพิ่มขึ้นอยู่กับความไม่แน่นอนทางเศรษฐกิจ สังคม เทคโนโลยี และการพัฒนาของตัวธรรมชาติเอง แต่อาจขึ้นอยู่กับการใช้เชื้อเพลิงฟอสซิลเป็นหลัก รายงานพิเศษว่าด้วยการจำลองการปลดปล่อยคาร์บอนไดออกไซด์ (Special Report on Emissions Scenarios) ของ IPCC ได้จำลองว่าปริมาณ CO2 ในอนาคตจะมีค่าอยู่ระหว่าง 541 ถึง 970 ส่วนในล้านส่วน ในราวปี พ.ศ. 2643 ด้วยปริมาณสำรองของเชื้อเพลิงฟอสซิลจะยังคงมีเพียงพอในการสร้างสภาวะนั้น และยังสามารถเพิ่มปริมาณขึ้นได้อีกเมื่อเลยปี 2643 ไปแล้ว ถ้าเรายังคงใช้ถ่านหิน น้ำมันดิน น้ำมันดินในทราย หรือมีเทนก้อนเป็นแก๊สมีเทนที่ฝังตัวในผลึกน้ำแข็งในสัดส่วนโมเลกุลมีเทน:โมเลกุลน้ำ = 1 : 5.75 เกิดใต้ท้องมหาสมุทรที่ลึกมาก
อ้างอิงที่มาของข้อมูลจาก http://th.wikipedia.org/



ศึกษาความรู้เพิ่มเติม

การเปลี่ยนแปลงสภาวะของโลกจาก LESA
:: กลไกการปรับสมดุลของโลก
:: ภาวะเรือนกระจก
:: การเปลี่ยนแปลงอุณหภูมิอากาศโลก
:: ปรากฏการณ์โลกร้อน
:: การลดลงของโอโซน
:: เอลนีโญ - ลานีญา
:: การทำลายป่าฝนเขตร้อน 



ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น